วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การอ่านโน้ตดนตรีสากล(ทำความรู้จักกับหน้าตาของโน้ตดนตรี)

     โพสต์แรกที่เกี่ยวกับทฤษฎีดนตรี ประเดิมกันด้วยเรื่องราวสุดแสนเบสิคของนักดนตรีกันก่อนเลย นั่นก็คือ "การอ่านโน้ตดนตรีสากล" นั่นเอง
     เชื่อกันมั้ยล่ะครับ ว่ามีคนหลายคนที่เล่นดนตรีเป็น แต่พวกเขาไม่สามารถอ่านโน้ตบนบรรทัดห้าเส้นได้ แต่ใช้การเล่นโดยอาศัยความจำเอา ดังนั้นพวกเขาจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยหากเจอโน้ตบรรทัดห้าเส้นมาวางอยู่ตรงหน้า
     ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนการเรียนภาษาครับ สมมุติว่าคุณศึกษาภาษาญี่ปุ่นจากภาพยนตร์ ละคร เพลงหรืออนิเมะ จนสามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้ในระดับหนึ่ง คุณสามารถฟังได้และพูดได้ แต่คุณจะไม่สามารถอ่านหรือเขียนได้เพราะคุณไม่เคยศึกษาการอ่านเขียน เช่นเดียวกันกับการเรียนหรือเล่นดนตรี หากคุณไม่สามารถอ่านโน้ตได้ คุณก็จะทำได้เพียงแค่ทำให้เกิดเสียง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดรายละเอียดต่างๆของเพลงออกมาได้

     "เพราะดนตรี ไม่ไช่เพียงแค่ระดับเสียงสูงต่ำ"

     งั้นเรามาเริ่มจากการทำความรู้จักกับบรรทัดห้าเส้นกันก่อนเลย
     จากโน้ตตัวอย่างที่เห็นจะเห็นว่าแค่เพลงสั้นๆเพียง 4 ห้องก็มีสัญลักษณ์ต่างๆมากมายแล้ว

มาดูทีละส่วนกันครับ 
โดยในโพสต์นี้จะบอกเพียงข้อมูลคร่าวๆ และจะอธิบายแต่ละส่วนในครั้งต่อๆไปครับ

Staff & Notes (บรรทัดห้าเส้นและตัวโน้ตบนบรรทัด)
     บรรทัดที่ใช้ในการบันทึกตัวโน้ตจะมีทั้งหมดห้าเส้น นับจากล่างขึ้นบน ยิ่งตัวโน้ตอยู่สูงเท่าไรก็ยิ่งหมายถึงโน้ตตัวนั้นมีเสียงสูงมากนั่นเอง
     ในบรรทัดห้าเส้นโน้ตจะถูกแบ่งเป็นห้องๆ แต่ละห้องจะมีกี่จังหวะนั้น ขึ้นอยู่กับผู้แต่ง โดยเมื่อจบ 1 ห้องแล้ว จะมีเส้นกั้นห้อง(ฺBar Line)กั้นไว้ และเมื่อจบห้องสุดท้ายเส้นกั้นห้องจะมีลักษณะเป็นสองเส้นคู่กัน เส้นสุดท้ายจะหนากว่า
     *ระดับเสียงของโน้ตบนบรรทัดห้าเส้นจะกล่าวถึงในภายหลัง
Clef (กุญแจประจำหลัก)
     หรือที่เราได้เรียกกันว่ากุญแจซอลและกุญแจฟานั่นเอง นอกจากนี้ยังมีกุญแจโดที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงอีกครับ



G Clef / Treble Clef (กุญแจซอล)
     ใช้สำหรับบันทึกโน้ตเครื่องดนตรีเสียงกลางถึงสูง เช่น Pianoมือขวา, Trumpet, Violin, Flute, Saxophone เป็นต้น
     โดยเส้นที่หัวกุญแจคาบเกี่ยวอยู่ก็คือตำแหน่งของโน้ตตัวซอล







F Clef / Bass Clef (กุญแจฟา)
     ใช้สำหรับบันทึกโน้ตเครื่องดนตรีเสียงต่ำ เช่น Pianoมือซ้าย, Tuba, Trombone, Cello, Double Bass เป็นต้น
     โดยเส้นที่หัวกุญแจคาบเกี่ยวอยู่ก็คือตำแหน่งของโน้ตตัวฟา







C Clef (กุญแจโด)
     ตำแหน่งกึ่งกลางของกุญแจคือโน้ตตัวโด ซึ่งกุญแจโดนี้สามารถอยู่บนเส้นไหนของบันทัดห้าเส้นก็ได้ และเมื่อไปอยู่ในแต่ละตำแหน่งแล้วก็จะมีชื่อเรียกที่ต่างกันไป ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้สองแบบ คือ กุญแจโดAlto(เส้นที่3)ที่เห็นในภาพ และกุญแจโดTenor(เส้นที่4)




     *ทั้งสามกุญแจนี้ยังมีประเภทย่อยๆของแต่ละกุญแจอีก

ต่อไปครับ
Key Signature (เครื่องหมายตั้งบันไดเสียง หรือ คีย์ดนตรี)
     ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ เครื่องหมายที่เอาไว้บอกคีย์ของเพลงนั่นแหละครับ จะมีลักษณะเป็นกลุ่มเครื่องหมาย Sharp(#) หรือ Flat(b) อยู่ข้างหลัง(ด้านขวา)ของกุญแจครับ
    ภาพตัวอย่าง

คีย์ 3 แฟลต ในกุญแจซอล (Eb Major, C minor)              คีย์ 4 ชาร์ป ในกุญแจฟา (E Major, C# minor)





Time Signature (เครื่องหมายกำหนดจังหวะ)
     ลักษณะเป็นเลขสองตัวเรียงกันแนวตั้ง อยู่หลัง Clef และ Key Signature ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์บอกให้ทราบว่า แต่ละห้องของเพลงนั้นมีกี่จังหวะ
     การอ่านความหมายของ Time Signature
Time Signature นั้น เลขตัวบนและเลขตัวล่างจะมีความหมายต่างกัน คือ
- เลขตัวบน   ทำหน้าที่บอกว่าตัวโน้ตที่ถูกกำหนดโดยเลขตัวล่างมีทั้งหมดกี่ตัวในหนึ่งห้อง
                     ( ยังๆ อย่าเพิ่งงง อ่านต่อไปก่อน )
- เลขตัวล่าง จะเอาไว้แทนค่าของตัวโน้ตที่จะเอาไปนับโดยเลขตัวบน
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 1 จะใช้โน้ตตัวกลม          (มีค่า4จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 2 จะใช้โน้ตตัวขาว           (มีค่า2จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 4 จะใช้โน้ตตัวดำ             (มีค่า1จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 8 จะใช้โน้ตตัวเขบ็ต1ชั้น (มีค่า1/2จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 16 จะใช้โน้ตเขบ็ต2ชั้น    (มีค่า1/4จังหวะ) แทนค่า

อะๆ ยกตัวอย่างให้ Time Signature ยอดฮิต

     4
     4
เลขตัวล่าง หมายถึง ตัวดำ + เลขตัวบน เป็นเลข 4 = ในหนึ่งห้องจะมีโน้ตตัวดำได้ 4 ตัว หรือก็คือเพลงนั้นห้องละ 4 จังหวะนั่นเองครับ

อีกตัวอย่าง

     3
     4
เลขตัวล่าง หมายถึง ตัวดำ + เลขตัวบน เป็นเลข 3 = ในหนึ่งห้องจะมีโน้ตตัวดำได้ 4 ตัว หรือก็คือเพลงนั้นห้องละ 3 จังหวะไงล่ะ
.
.
.
.
.
.
.
.
หายงงยังครับ

เดี๋ยวเลขอื่นๆจะบอกทีหลังเด้อ


อ่านไม่เข้าใจ อ่านแล้วมึนยังไงถามได้นะครับ



ขอบคุณที่ทนอ่านมาจนจบครับ  _/\_

BlackSwallowMusic




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น