วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การอ่านโน้ตดนตรีสากล(ค่าความยาวของตัวโน้ต)


     ตัวโน้ตเพียงตัวเดียวสามารถบอกความหมายได้สองอย่างคือ ความยาว-สั้น(Time) และ ระดับเสียงสูง-ต่ำ(Pitch) ในโพสต์นี้จะกล่าวถึงความยาวของโน้ตแต่ละตัว

ความยาวของโน้ตแต่ละตัว (Time)
     ค่าความยาวของโน้ตสามารถบอกได้ด้วยลักษณะของตัวโน้ตดังนี้










โน้ตตัวกลม (Whole note)
-มีค่า 4 จังหวะ
-ตัวโน้ตมีเพียงหัวโน้ต (Oval) สีขาว
-เมื่อ Time Signature ตัวล่าง คือเลข 1 จะหมายถึงโน้ตตัวกลม


โน้ตตัวขาว (Half note)
-มีค่า 2 จังหวะ
-ตัวโน้ตประกอบด้วยหัวโน้ต (Oval) สีขาว และก้านโน้ต (Stem)
-เมื่อ Time Signature ตัวล่าง คือเลข 2 จะหมายถึงโน้ตตัวขาว


โน้ตตัวดำ (Quarter note)
-มีค่า 1 จังหวะ
-ตัวโน้ตประกอบด้วยหัวโน้ต (Oval) สีดำ และก้านโน้ต (Stem)
-เมื่อ Time Signature ตัวล่าง คือเลข 4 จะหมายถึงโน้ตตัวดำ



โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth note)
-มีค่า 1/2 จังหวะ หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของโน้ตตัวดำนั่นเอง เมื่อรวมกันสองตัวจะเท่ากับหนึ่งจังหวะ
-ตัวโน้ตประกอบด้วยหัวโน้ต (Oval) สีดำ ก้านโน้ต (Stem) และหางโน้ต (Flag) 1 เส้น
-เมื่อ Time Signature ตัวล่าง คือเลข 8 จะหมายถึงโน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น








โน้ตเขบ็ต 2 ชั้น (Sixteenth note)
-มีค่า 1/4 จังหวะ หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของโน้ตเขบ็ต 1 ชั้นนั่นเอง เมื่อรวมกันสี่ตัวจะเท่ากับหนึ่งจังหวะ
-ตัวโน้ตประกอบด้วยหัวโน้ต (Oval) สีดำ ก้านโน้ต (Stem) และหางโน้ต (Flag) 2 เส้น
-เมื่อ Time Signature ตัวล่าง คือเลข 16 จะหมายถึงโน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น

ตารางการแบ่งย่อยของตัวโน้ต

โน้ตตัวหยุด (Rest note)
     ค่าความยาวของโน้ตตัวหยุดสามารถบอกได้ด้วยลักษณะของตัวโน้ตดังนี้







โน้ตหยุดตัวกลม (Whole rest)
-หยุด 4 จังหวะ









โน้ตหยุดตัวขาว (Half rest)
-หยุด 2 จังหวะ




โน้ตหยุดตัวดำ (Quarter rest)
-หยุด 1 จังหวะ






โน้ตหยุดเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth rest)
-หยุด ครึ่ง จังหวะ






โน้ตหยุดเขบ็ต 2 ชั้น (Sixteenth rest)
-หยุด 1ส่วน 4 ของจังหวะ

ตารางการแบ่งย่อยของโน้ตตัวหยุด


การเพิ่มค่าความยาวของโน้ต
     การเพิ่มค่าความยาวของโน้ตสามารถทำได้โดยการ
ใส่เส้นโยงเสียง (Tie)
     ใช้เพื่อเพิ่มความยาวของตัวโน้ตในระดับเสียงเดียวกันเท่านั้น ลักษณะเป็นเส้นโค้ง โยงระหว่างหัวโน้ตสองตัว
     จากภาพจะเห็นว่า โน้ตตัวขาว (2 จังหวะ) ถูกโยงเสียงไปรวมกับโน้ตตัวดำ (1จังหวะ) ด้วยเครื่องหมาย Tie ทำให้เสียงของโน้ตตัวนี้มีความยาวเท่ากับ 3 จังหวะนั่นเอง
     เครื่องหมาย Tie นี้ จะถูกใช้กับโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกันเท่านั้น หากใช้กับโน้ตระดับเสียงอื่น จะเป็นเครื่องหมาย Slur หรือ Legato และเครื่องหมายเหล่านี้จะสามารถใช้ได้เพียงกับตัวโน้ตเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับโน้ตตัวหยุดได้

เติมเครื่องหมายจุดด้านหลัง (Dot)
     วิธีนี้สามารถใช้ได้ทั้งกับตัวโน้ตและโน้ตตัวหยุด โดยจะเป็นการเติมจุดข้างหลังโน้ตหรือตัวหยุดที่ต้องการจะเพิ่มค่า ตัวโน้ตที่มีการเติมจุดจะถูกเรียกว่า Dotted note
- จุดที่เติมจะมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของตัวโน้ตที่อยู่ข้างหน้า
- ถ้าเติมจุดตัวต่อไปจะมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของจุดตัวแรก

     ตัวอย่าง
โน้ตตัวดำ (1จังหวะ) + จุด(ครึ่งหนึ่งของตัวดำคือเขบ็ต1ชั้น) = 1 + 1/2 = 1จังหวะครึ่ง


โน้ตตัวขาว (2จังหวะ) + จุด(ครึ่งหนึ่งของตัวขาวคือตัวดำ) + จุดที่สอง(ครึ่งหนึ่งของตัวดำคือเขบ็ต1ชั้น) = 2 + 1 + 1/2 = 3จังหวะครึ่ง


     โน้ตตัวหยุดก็สามารถใช้ได้เช่นกันนะ
หยุดตัวดำ (1จังหวะ) + จุด(ครึ่งหนึ่งของหยุดตัวดำคือหยุดเขบ็ต1ชั้น) = 1 + 1/2 = หยุด 1จังหวะครึ่ง

หยุดตัวขาว (2จังหวะ) + จุด(ครึ่งหนึ่งของหยุดตัวขาวคือหยุดตัวดำ) + จุดที่สอง(ครึ่งหนึ่งของหยุดตัวดำคือหยุดเขบ็ต1ชั้น) = 2 + 1 + 1/2 = หยุด3จังหวะครึ่ง




สำหรับเรื่องระดับเสียงของตัวโน้ต (Pitch) จะกล่าวถึงในโพสต์ต่อไปครับ


BlackSwallowMusic

1 ความคิดเห็น: