วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

[Sheet Note] Giniro Hikousen - Supercell

     ด้วยความชอบส่วนตัวอีกเช่นเคย กับวง Supercell เพลง Giniro Hikousen นี้ เป็นเพลงประกอบเรื่อง Nerawareta Gakuen ด้วยจังหวะช้าๆ บวกกับน้ำเสียงของ Koeda ที่มี Piano คลอ ทำให้เคลิ้มชวนฝัน(หรืออาจจะชวนหลับ)

     เพลงจาก youtube channel ของ Supercell


และนี่โน้ตที่คุณต้องการ




   เพลงนี้จะมีการเปลียนคีย์เพลง (Key Signature) อยู่บ่อย แต่จะเปลี่ยนไปมาแค่เพียง
 A Major กับ Ab Major และ จบด้วย คีย์ Bb Major 
ดังนั้นถ้าฝึก Scale ทั้งสามนี้ได้อย่างชำนาญแล้ว การเปลี่ยนคีย์ในเพลงนี้จะไม่ไช่ปัญหาอีกต่อไป

BlackSwallowMusic


[Sheet Note] Kimi Sora Kiseki - EGOIST

     Kimi Sora Kiseki โดย EGOIST (เจ้าเดียวกับวง Supercell นั่นแล เพียงแต่ใช้นักร้องคนละคนกัน) เป็นหนึ่งในเพลงประกอบของ Guilty Crown ด้วยผลงานเพลงจาก RYO คุง และเสียงร้องของ Chelly

     เพลงมาให้ฟังก่อนเช่นเคย



นี่โน้ต





คีย์ B Major ติด 5# อาจยากไปหน่อยสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ถ้าพยายามฝึกซ้อมต้องเล่นได้แน่นอนครับ

BlackSwallowMusic


การอ่านโน้ตดนตรีสากล(ค่าความยาวของตัวโน้ต)


     ตัวโน้ตเพียงตัวเดียวสามารถบอกความหมายได้สองอย่างคือ ความยาว-สั้น(Time) และ ระดับเสียงสูง-ต่ำ(Pitch) ในโพสต์นี้จะกล่าวถึงความยาวของโน้ตแต่ละตัว

ความยาวของโน้ตแต่ละตัว (Time)
     ค่าความยาวของโน้ตสามารถบอกได้ด้วยลักษณะของตัวโน้ตดังนี้










โน้ตตัวกลม (Whole note)
-มีค่า 4 จังหวะ
-ตัวโน้ตมีเพียงหัวโน้ต (Oval) สีขาว
-เมื่อ Time Signature ตัวล่าง คือเลข 1 จะหมายถึงโน้ตตัวกลม


โน้ตตัวขาว (Half note)
-มีค่า 2 จังหวะ
-ตัวโน้ตประกอบด้วยหัวโน้ต (Oval) สีขาว และก้านโน้ต (Stem)
-เมื่อ Time Signature ตัวล่าง คือเลข 2 จะหมายถึงโน้ตตัวขาว


โน้ตตัวดำ (Quarter note)
-มีค่า 1 จังหวะ
-ตัวโน้ตประกอบด้วยหัวโน้ต (Oval) สีดำ และก้านโน้ต (Stem)
-เมื่อ Time Signature ตัวล่าง คือเลข 4 จะหมายถึงโน้ตตัวดำ



โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth note)
-มีค่า 1/2 จังหวะ หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของโน้ตตัวดำนั่นเอง เมื่อรวมกันสองตัวจะเท่ากับหนึ่งจังหวะ
-ตัวโน้ตประกอบด้วยหัวโน้ต (Oval) สีดำ ก้านโน้ต (Stem) และหางโน้ต (Flag) 1 เส้น
-เมื่อ Time Signature ตัวล่าง คือเลข 8 จะหมายถึงโน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น








โน้ตเขบ็ต 2 ชั้น (Sixteenth note)
-มีค่า 1/4 จังหวะ หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของโน้ตเขบ็ต 1 ชั้นนั่นเอง เมื่อรวมกันสี่ตัวจะเท่ากับหนึ่งจังหวะ
-ตัวโน้ตประกอบด้วยหัวโน้ต (Oval) สีดำ ก้านโน้ต (Stem) และหางโน้ต (Flag) 2 เส้น
-เมื่อ Time Signature ตัวล่าง คือเลข 16 จะหมายถึงโน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น

ตารางการแบ่งย่อยของตัวโน้ต

โน้ตตัวหยุด (Rest note)
     ค่าความยาวของโน้ตตัวหยุดสามารถบอกได้ด้วยลักษณะของตัวโน้ตดังนี้







โน้ตหยุดตัวกลม (Whole rest)
-หยุด 4 จังหวะ









โน้ตหยุดตัวขาว (Half rest)
-หยุด 2 จังหวะ




โน้ตหยุดตัวดำ (Quarter rest)
-หยุด 1 จังหวะ






โน้ตหยุดเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth rest)
-หยุด ครึ่ง จังหวะ






โน้ตหยุดเขบ็ต 2 ชั้น (Sixteenth rest)
-หยุด 1ส่วน 4 ของจังหวะ

ตารางการแบ่งย่อยของโน้ตตัวหยุด


การเพิ่มค่าความยาวของโน้ต
     การเพิ่มค่าความยาวของโน้ตสามารถทำได้โดยการ
ใส่เส้นโยงเสียง (Tie)
     ใช้เพื่อเพิ่มความยาวของตัวโน้ตในระดับเสียงเดียวกันเท่านั้น ลักษณะเป็นเส้นโค้ง โยงระหว่างหัวโน้ตสองตัว
     จากภาพจะเห็นว่า โน้ตตัวขาว (2 จังหวะ) ถูกโยงเสียงไปรวมกับโน้ตตัวดำ (1จังหวะ) ด้วยเครื่องหมาย Tie ทำให้เสียงของโน้ตตัวนี้มีความยาวเท่ากับ 3 จังหวะนั่นเอง
     เครื่องหมาย Tie นี้ จะถูกใช้กับโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกันเท่านั้น หากใช้กับโน้ตระดับเสียงอื่น จะเป็นเครื่องหมาย Slur หรือ Legato และเครื่องหมายเหล่านี้จะสามารถใช้ได้เพียงกับตัวโน้ตเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับโน้ตตัวหยุดได้

เติมเครื่องหมายจุดด้านหลัง (Dot)
     วิธีนี้สามารถใช้ได้ทั้งกับตัวโน้ตและโน้ตตัวหยุด โดยจะเป็นการเติมจุดข้างหลังโน้ตหรือตัวหยุดที่ต้องการจะเพิ่มค่า ตัวโน้ตที่มีการเติมจุดจะถูกเรียกว่า Dotted note
- จุดที่เติมจะมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของตัวโน้ตที่อยู่ข้างหน้า
- ถ้าเติมจุดตัวต่อไปจะมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของจุดตัวแรก

     ตัวอย่าง
โน้ตตัวดำ (1จังหวะ) + จุด(ครึ่งหนึ่งของตัวดำคือเขบ็ต1ชั้น) = 1 + 1/2 = 1จังหวะครึ่ง


โน้ตตัวขาว (2จังหวะ) + จุด(ครึ่งหนึ่งของตัวขาวคือตัวดำ) + จุดที่สอง(ครึ่งหนึ่งของตัวดำคือเขบ็ต1ชั้น) = 2 + 1 + 1/2 = 3จังหวะครึ่ง


     โน้ตตัวหยุดก็สามารถใช้ได้เช่นกันนะ
หยุดตัวดำ (1จังหวะ) + จุด(ครึ่งหนึ่งของหยุดตัวดำคือหยุดเขบ็ต1ชั้น) = 1 + 1/2 = หยุด 1จังหวะครึ่ง

หยุดตัวขาว (2จังหวะ) + จุด(ครึ่งหนึ่งของหยุดตัวขาวคือหยุดตัวดำ) + จุดที่สอง(ครึ่งหนึ่งของหยุดตัวดำคือหยุดเขบ็ต1ชั้น) = 2 + 1 + 1/2 = หยุด3จังหวะครึ่ง




สำหรับเรื่องระดับเสียงของตัวโน้ต (Pitch) จะกล่าวถึงในโพสต์ต่อไปครับ


BlackSwallowMusic

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เรียนดนตรีที่บ้านยามว่าง หรือติวเพื่อสอบเข้าวิทยาลัยดนตรี



     เรียนดนตรี (Flute, Piano, ทฤษฏีดนตรี) ที่บ้านผู้เรียนกับครูผู้สอนผู้เชี่ยวชาญในเครื่องดนตรี สอนอย่างถูกวิธี ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงระดับสูง เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ฝึกฝนความสามารถพิเศษ เป็นงานอดิเรกที่สร้างสรรค์ เหมาะสำหรับทุกวัย  รวมไปถึงติวเพื่อสอบเข้าวิทยาลัยดนตรี และสอบเทียบเกรด

*เครื่องดนตรีอื่นๆสามารถจัดหาครูผู้สอนให้ได้ ซึ่งเป็นผู้ที่เรียนสายดนตรีมาโดยตรงเช่นกัน



[Sheet Note] Ayano no Koufuku riron (Ayano's theory of happiness) - Kagerou Project

ด้วยความชอบส่วนตัวล้วนๆ

     Ayano no Koufuku riron หรือ Ayano's theory of happiness เป็นเพลงหนึ่งในซีรีส์ Kagerou Project โดย Shisen no teki-P หรือที่เรียกกันติดปากว่า Jin นั่นเอง

     หลายคนอาจไม่รู้จัก เลยเอาเพลงมาแปะให้ฟังกันก่อน


อันนี้เป็นเวอร์ชั่นมนุษย์ร้อง

ส่วนนี่เป็นแบบดั้งเดิม ใช้เสียง Vocaloid แถมด้วยเนื้อเพลงและแปลไทยโดย คุณ bell4210lovely

ถ้าฟังแล้วถูกใจก็เอาโน้ตไปเล่นกันเลยยย








หวังว่าจะชอบกันนะครับ _/\_

BlackSwallowMusic



Sheet Music

     โพสต์นี้เป็นการรวบรวมลิงค์ของโน้ตเพลงที่เคยเอามาลงไว้นะครับ ส่วนใหญ่จะเป็นโน้ตที่ทำมาให้ Flute แต่เครื่องดนตรีอื่นๆที่เป็น C Instrument ก็สามารถนำไปใช้ได้เช่นกันครับ
     For this posts is collection of my sheet music. Most of the notes are arranged for Flute but C Instrument can be used too.


H.M.Blues (เพลงพระราชนิพนธ์)

[Sheet Music] Kinari Waltz - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] Nature Waltz - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] The Hunter - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] แผ่นดินของเรา (Alexandra) - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] พระมหามงคล - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] ยูงทอง (ธรรมศาสตร์) - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] ในดวงใจนิรันดร์ (Still on My Mind) - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] เตือนใจ (Old-Fashioned Melody) - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] ไร้เดือน, ไร้จันทร์ (No Moon) - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] เกาะในฝัน (Dream Island) - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] แว่ว (Echo) - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] เกษตรศาสตร์ - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] ความฝันอันสูงสุด (The Impossible Dream) - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] เราสู้ - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] เรา-เหล่าราบ ๒๑ (We-Infantry Regiment 21) - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] Blues for Uthit - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] รัก - บทเพลงพระราชนิพนธ์
[Sheet Music] เมนูไข่ - บทเพลงพระราชนิพนธ์

ทฤษฎีดนตรี

     รวมโพสต์เกี่ยวกับทฤษฎีดนตรีเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา

รวมโพสต์ทั่วไป

     โพสต์นี้เอาไว้รวมลิงค์บทความทั่วไปนะครับเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา

การอ่านโน้ตดนตรีสากล(ทำความรู้จักกับหน้าตาของโน้ตดนตรี)

     โพสต์แรกที่เกี่ยวกับทฤษฎีดนตรี ประเดิมกันด้วยเรื่องราวสุดแสนเบสิคของนักดนตรีกันก่อนเลย นั่นก็คือ "การอ่านโน้ตดนตรีสากล" นั่นเอง
     เชื่อกันมั้ยล่ะครับ ว่ามีคนหลายคนที่เล่นดนตรีเป็น แต่พวกเขาไม่สามารถอ่านโน้ตบนบรรทัดห้าเส้นได้ แต่ใช้การเล่นโดยอาศัยความจำเอา ดังนั้นพวกเขาจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยหากเจอโน้ตบรรทัดห้าเส้นมาวางอยู่ตรงหน้า
     ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนการเรียนภาษาครับ สมมุติว่าคุณศึกษาภาษาญี่ปุ่นจากภาพยนตร์ ละคร เพลงหรืออนิเมะ จนสามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้ในระดับหนึ่ง คุณสามารถฟังได้และพูดได้ แต่คุณจะไม่สามารถอ่านหรือเขียนได้เพราะคุณไม่เคยศึกษาการอ่านเขียน เช่นเดียวกันกับการเรียนหรือเล่นดนตรี หากคุณไม่สามารถอ่านโน้ตได้ คุณก็จะทำได้เพียงแค่ทำให้เกิดเสียง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดรายละเอียดต่างๆของเพลงออกมาได้

     "เพราะดนตรี ไม่ไช่เพียงแค่ระดับเสียงสูงต่ำ"

     งั้นเรามาเริ่มจากการทำความรู้จักกับบรรทัดห้าเส้นกันก่อนเลย
     จากโน้ตตัวอย่างที่เห็นจะเห็นว่าแค่เพลงสั้นๆเพียง 4 ห้องก็มีสัญลักษณ์ต่างๆมากมายแล้ว

มาดูทีละส่วนกันครับ 
โดยในโพสต์นี้จะบอกเพียงข้อมูลคร่าวๆ และจะอธิบายแต่ละส่วนในครั้งต่อๆไปครับ

Staff & Notes (บรรทัดห้าเส้นและตัวโน้ตบนบรรทัด)
     บรรทัดที่ใช้ในการบันทึกตัวโน้ตจะมีทั้งหมดห้าเส้น นับจากล่างขึ้นบน ยิ่งตัวโน้ตอยู่สูงเท่าไรก็ยิ่งหมายถึงโน้ตตัวนั้นมีเสียงสูงมากนั่นเอง
     ในบรรทัดห้าเส้นโน้ตจะถูกแบ่งเป็นห้องๆ แต่ละห้องจะมีกี่จังหวะนั้น ขึ้นอยู่กับผู้แต่ง โดยเมื่อจบ 1 ห้องแล้ว จะมีเส้นกั้นห้อง(ฺBar Line)กั้นไว้ และเมื่อจบห้องสุดท้ายเส้นกั้นห้องจะมีลักษณะเป็นสองเส้นคู่กัน เส้นสุดท้ายจะหนากว่า
     *ระดับเสียงของโน้ตบนบรรทัดห้าเส้นจะกล่าวถึงในภายหลัง
Clef (กุญแจประจำหลัก)
     หรือที่เราได้เรียกกันว่ากุญแจซอลและกุญแจฟานั่นเอง นอกจากนี้ยังมีกุญแจโดที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงอีกครับ



G Clef / Treble Clef (กุญแจซอล)
     ใช้สำหรับบันทึกโน้ตเครื่องดนตรีเสียงกลางถึงสูง เช่น Pianoมือขวา, Trumpet, Violin, Flute, Saxophone เป็นต้น
     โดยเส้นที่หัวกุญแจคาบเกี่ยวอยู่ก็คือตำแหน่งของโน้ตตัวซอล







F Clef / Bass Clef (กุญแจฟา)
     ใช้สำหรับบันทึกโน้ตเครื่องดนตรีเสียงต่ำ เช่น Pianoมือซ้าย, Tuba, Trombone, Cello, Double Bass เป็นต้น
     โดยเส้นที่หัวกุญแจคาบเกี่ยวอยู่ก็คือตำแหน่งของโน้ตตัวฟา







C Clef (กุญแจโด)
     ตำแหน่งกึ่งกลางของกุญแจคือโน้ตตัวโด ซึ่งกุญแจโดนี้สามารถอยู่บนเส้นไหนของบันทัดห้าเส้นก็ได้ และเมื่อไปอยู่ในแต่ละตำแหน่งแล้วก็จะมีชื่อเรียกที่ต่างกันไป ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้สองแบบ คือ กุญแจโดAlto(เส้นที่3)ที่เห็นในภาพ และกุญแจโดTenor(เส้นที่4)




     *ทั้งสามกุญแจนี้ยังมีประเภทย่อยๆของแต่ละกุญแจอีก

ต่อไปครับ
Key Signature (เครื่องหมายตั้งบันไดเสียง หรือ คีย์ดนตรี)
     ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ เครื่องหมายที่เอาไว้บอกคีย์ของเพลงนั่นแหละครับ จะมีลักษณะเป็นกลุ่มเครื่องหมาย Sharp(#) หรือ Flat(b) อยู่ข้างหลัง(ด้านขวา)ของกุญแจครับ
    ภาพตัวอย่าง

คีย์ 3 แฟลต ในกุญแจซอล (Eb Major, C minor)              คีย์ 4 ชาร์ป ในกุญแจฟา (E Major, C# minor)





Time Signature (เครื่องหมายกำหนดจังหวะ)
     ลักษณะเป็นเลขสองตัวเรียงกันแนวตั้ง อยู่หลัง Clef และ Key Signature ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์บอกให้ทราบว่า แต่ละห้องของเพลงนั้นมีกี่จังหวะ
     การอ่านความหมายของ Time Signature
Time Signature นั้น เลขตัวบนและเลขตัวล่างจะมีความหมายต่างกัน คือ
- เลขตัวบน   ทำหน้าที่บอกว่าตัวโน้ตที่ถูกกำหนดโดยเลขตัวล่างมีทั้งหมดกี่ตัวในหนึ่งห้อง
                     ( ยังๆ อย่าเพิ่งงง อ่านต่อไปก่อน )
- เลขตัวล่าง จะเอาไว้แทนค่าของตัวโน้ตที่จะเอาไปนับโดยเลขตัวบน
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 1 จะใช้โน้ตตัวกลม          (มีค่า4จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 2 จะใช้โน้ตตัวขาว           (มีค่า2จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 4 จะใช้โน้ตตัวดำ             (มีค่า1จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 8 จะใช้โน้ตตัวเขบ็ต1ชั้น (มีค่า1/2จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 16 จะใช้โน้ตเขบ็ต2ชั้น    (มีค่า1/4จังหวะ) แทนค่า

อะๆ ยกตัวอย่างให้ Time Signature ยอดฮิต

     4
     4
เลขตัวล่าง หมายถึง ตัวดำ + เลขตัวบน เป็นเลข 4 = ในหนึ่งห้องจะมีโน้ตตัวดำได้ 4 ตัว หรือก็คือเพลงนั้นห้องละ 4 จังหวะนั่นเองครับ

อีกตัวอย่าง

     3
     4
เลขตัวล่าง หมายถึง ตัวดำ + เลขตัวบน เป็นเลข 3 = ในหนึ่งห้องจะมีโน้ตตัวดำได้ 4 ตัว หรือก็คือเพลงนั้นห้องละ 3 จังหวะไงล่ะ
.
.
.
.
.
.
.
.
หายงงยังครับ

เดี๋ยวเลขอื่นๆจะบอกทีหลังเด้อ


อ่านไม่เข้าใจ อ่านแล้วมึนยังไงถามได้นะครับ



ขอบคุณที่ทนอ่านมาจนจบครับ  _/\_

BlackSwallowMusic




วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

นี่อะไร? ใครเขียนบล็อก?


แนะนำตัว (ถ้าขี้เกียจอ่านข้ามไปก็ได้)
     หลังจากทักทายกันไปแล้วก็ถึงเวลาที่จะมาแนะนำตัวให้ได้รู้จักกันแล้วล่ะครับ เริ่มมาก็ต้องชื่อ ผมชื่อเล่นว่า เวิลด์ (World) ที่แปลว่าโลกนั่นแหละครับ บอกใครเค้าก็บ่นกันว่าเรียกยาก หลายคนเลยไปเรียกชื่อจริงแทน อลงกต ครับ อะ-ลง-กด ที่มี 3 พยางค์อะครับ มันเรียกง่ายกว่า(ล่ะมั้ง)

     ประถมจนจบมัธยมเรียนที่ อัสสัมชัญธนบุรี ตลอด 12 ปีครับ เส้นทางดนตรีของผมก็เริ่มต้นขึ้นที่นี่เอง จากวงโยธวาทิต เริ่มจาก Trumpet, Clarinet, Bassoon และกว่าจะได้เป่า Flute สมใจอยากก็ทุลักทุเลพอสมควร 
     พอจบม.6 ก็สอบเข้าที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดล (College of Music, Mahidol University) วิทยาลัยดนตรีในฝันของใครหลายๆคน ^0^ เพื่อนในรุ่นจากอัสสัมธนที่เข้าที่นี่ด้วยกันมี 2 คน เท่านั้นเอง ส่วนคนอื่นๆก็กระจายกันไป ศิลปากร เกษตรศาสตร์ มศว. (เรียนดนตรีเช่นเดียวกัน) ทุกวันนี้ยังรักกันดีครับ

ประสบการณ์ทางดนตรีที่ผ่านมา

2549    - เข้าร่วมวงโยธวาทิตโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ในตำแหน่ง Trumpet, Clarinet, Bassoon             
              และ Flute ตามลำดับ            
            - เข้าร่วมการประกวดวง Symphonic Band ในงาน Asian Symphonic Band Competition ที่
              วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2550    - เข้าร่วมการประกวดวงโยธวาทิตชิงถ้วยพระราชทานจัดโดยกรมพละศึกษาและธนาคาร     
               ทหารไทย (TMB Royal Cup)
2553    - เข้าร่วมกับวง Mahidol University Symphonic Band และวง Mahidol Pop Orchestra
2555    -  ร่วมแสดงคอนเสิร์ต The Inner Dream Concert2558    
            -  ร่วมแสดงคอนเสิร์ต D2B Encore Concert 2015
*เป็นวิทยากรฝึกสอนเรื่องการใช้ลมและการปฏิบัติเครื่องเป่าลมไม้ร่วมกับทีม Apollo Genexis ตั้งแต่ปี

  พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน - 

ปัจจุบัน
เป็นครูสอน Piano และ Flute ตามโรงเรียนดนตรีต่างๆ รวมถึงสอน Private Class ที่บ้านของนักเรียนด้วยครับ



*ตัวผมสอน Flute, Piano และทฤษฎีดนตรี หากอยากเรียนเครื่องดนตรีอื่นสามารถติดต่อครูผู้สอนท่านอื่นให้ได้ครับ ซึ่งเป็นผู้ที่เรียนสายดนตรีมาโดยตรงเช่นกัน



*โพสต์นี้เป็นเพียงการแนะนำตัวคร่าวๆครับ ตัวตนของผมนอกเหนือจากตัวอักษรเหล่านี้ ผมเชื่อว่าผู้อ่านจะสามารถรู้ได้เองจากการติดตามอ่านบล็อกที่ผมเขียนครับ

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม _/\_

BlackSwallowMusic


ทักทายกันสักเล็กน้อย



     หลังจากที่ไปแวะเวียนเยี่ยมเยียนตามบล็อกของชาวบ้านเค้ามานาน ก็เริ่มคิดอยากจะเขียนเป็นของตัวเองบ้าง แต่จะเขียนอะไรดีล่ะ ในเมื่อหาสาระอะไรในชีวิตไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ เรื่องถนัดก็มีแค่อย่างเดียวคือเล่นดนตรี เลยมาลงเอยที่บล็อกเกี่ยวกับดนตรีละกัน
     ความตั้งใจสำหรับเนื้อหาที่จะใส่ลงไปในบล็อกคือสาระทั้งหลายแหล่เกี่ยวกับดนตรี ทั้งทฤษฎี เกร็ดความรู้ข้อมูลต่างๆ รวมถึงตั้งใจจะทำโน้ตแจกด้วย (ส่วนใหญ่จะเป็นโน้ต Flute ซะมาก ก็ผมเอก Flute นี่นา แต่เครื่องดนตรีที่เป็น C Instrument ก็เอาไปใช้ได้เหมือนกัน) ทั้งโน้ตแบบฝึกหัด เพลงคลาสสิค เพลงป็อบ และอีกมากมาย

     ที่เขียนอยู่ด้านบนนั่นคือสิ่งที่คิดไว้ตอนเริ่มทำล่ะนะครับ   ไว้ดูต่อไปละกันว่านานๆเข้าบล็อกนี้จะกลายเป็นอะไรไป 5555



ฝากตัวด้วยครับ _/\_
  
BlackSwallowMusic