วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เครื่องหมายกำหนดจังหวะ(Time Signature)

     จากบทความ การอ่านโน้ตดนตรีสากล(ทำความรู้จักกับหน้าตาของโน้ตดนตรี) ได้กล่าวถึงเรื่อง Time Signature ไว้คร่าวๆดังนี้


          ลักษณะเป็นเลขสองตัวเรียงกันแนวตั้ง อยู่หลัง Clef และ Key Signature ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์บอกให้ทราบว่า แต่ละห้องของเพลงนั้นมีกี่จังหวะ
     การอ่านความหมายของ Time Signature
Time Signature นั้น เลขตัวบนและเลขตัวล่างจะมีความหมายต่างกัน คือ
- เลขตัวบน   ทำหน้าที่บอกว่าตัวโน้ตที่ถูกกำหนดโดยเลขตัวล่างมีทั้งหมดกี่ตัวในหนึ่งห้อง
- เลขตัวล่าง จะเอาไว้แทนค่าของตัวโน้ตที่จะเอาไปนับโดยเลขตัวบน
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 1 จะใช้โน้ตตัวกลม          (มีค่า4จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 2 จะใช้โน้ตตัวขาว           (มีค่า2จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 4 จะใช้โน้ตตัวดำ             (มีค่า1จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 8 จะใช้โน้ตตัวเขบ็ต1ชั้น (มีค่า1/2จังหวะ) แทนค่า
                     กล่าวคือเลขถ้าตัวล่าง เป็นเลข 16 จะใช้โน้ตเขบ็ต2ชั้น    (มีค่า1/4จังหวะ) แทนค่า

และได้มีการยกตัวอย่างวิธีการอ่าน Time Signature ไว้เบื้องต้น ในโพสนี้เราจะพูดถึงรายละเอียดถัดมา คือ การจำแนกประเภท ของ Time Signature ประเภทต่างๆ

อัตราจังหวะ (Meter) แบบต่างๆมีดังนี้
1. Simple Time (อัตราจังหวะธรรมดา) 
2. Compound Time (อัตราจังหวะผสม)
3. Complex Time (อัตราจังหวะซ้อน)

     อัตราจังหวะแบบ Simple Time และ Compound Time สามารถแบ่งย่อยได้อีก ตามจำนวนชีพจรจังหวะ (Beat) ที่มีในแต่ละห้อง หรือก็คือจำนวนครั้งที่เคาะจังหวะนั่นเอง 
- Duple Time อัตราจังหวะที่มี 2 Beat ใน 1 ห้อง
- Triple Time อัตราจังหวะที่มี 3 Beat ใน 1 ห้อง
- Quardruple Time อัตราจังหวะที่มี 4 Beat ใน 1 ห้อง

     เมื่อนำประเภทของ Meter และ Beat มารวมกันจะได้ Time Signature ประเภทต่างๆดังนี้

กลุ่ม Simple Time

Simple Duple Time (อัตราจังหวะสองธรรมดา)
ได้แก่

  2
  2
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตตัวขาว 2 ตัว
- นับโน้ตตัวขาว 1 ตัวเป็น 1 Beat

  2
  4
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตตัวดำ 2 ตัว
- นับโน้ตตัวดำ 1 ตัวเป็น 1 Beat

  2
  8
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 2 ตัว
- นับโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 1 ตัวเป็น 1 Beat

Simple Triple Time (อัตราจังหวะสามธรรมดา)
ได้แก่

  3
  2
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตตัวขาว 3 ตัว
- นับโน้ตตัวขาว 1 ตัวเป็น 1 Beat

  3
  4
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตตัวดำ 3 ตัว
- นับโน้ตตัวดำ 1 ตัวเป็น 1 Beat


  3
  8
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัว
- นับโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 1 ตัวเป็น 1 Beat


Simple Quardruple Time (อัตราจังหวะสี่ธรรมดา)


  4
  2
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตตัวขาว 4 ตัว
- นับโน้ตตัวขาว 1 ตัวเป็น 1 Beat

  4
  4
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตตัวดำ 4 ตัว
- นับโน้ตตัวดำ 1 ตัวเป็น 1 Beat


  4
  8
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 4 ตัว
- นับโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 1 ตัวเป็น 1 Beat


กลุ่ม Compound Time

Compound Duple Time (อัตราจังหวะสองผสม)

  6
  4
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตตัวดำ 6 ตัว
- นับโน้ตตัวดำ 3 ตัวเป็น 1 Beat

  6
  8
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 6 ตัว
- นับโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัวเป็น 1 Beat


   6
  16
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตเขบ็ต 2 ชั้น 6 ตัว
- นับโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น 3 ตัวเป็น 1 Beat


Compound Triple Time (อัตราจังหวะสามผสม)


  9
  4
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตตัวดำ 9 ตัว
- นับโน้ตตัวดำ 3 ตัวเป็น 1 Beat

  9
  8
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 9 ตัว
- นับโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัวเป็น 1 Beat


   9
  16
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตเขบ็ต 2 ชั้น 9 ตัว
- นับโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น 3 ตัวเป็น 1 Beat


Compound Quardruple Time (อัตราจังหวะสี่ผสม)


  12
   4
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตตัวดำ 12 ตัว
- นับโน้ตตัวดำ 3 ตัวเป็น 1 Beat

  12
   8
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 12 ตัว
- นับโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัวเป็น 1 Beat


  12
  16
- ในหนึ่งห้องมี โน้ตเขบ็ต 2 ชั้น 12 ตัว
- นับโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น 3 ตัวเป็น 1 Beat



Complex Time

     เป็นอัตราจังหวะที่ไม่ตรงกับ 2 กลุ่มที่กล่าวมา ชีพจรจังหวะ (Beat) จะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์เพลง ซึ่งจะบอกไว้ด้านบน Time Signature 

ตัวอย่าง Time Signature แบบ Complex Time

  5
  8
ใน 1 ห้อง มีโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 5 ตัว ซึ่งอาจแบ่งชีพจรจังหวะเป็น 2 Beat คือ (2+3) หรือ (3+2) ก็ได้

  7
  8
ใน 1 ห้อง มีโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 7 ตัว สามารถแบ่งชีพจรจังหวะเป็น 3 Beat คือ (3+2+2), (2+3+2) หรือ (2+2+3) ก็ได้


Time Signature แบบสัญลักษณ์
    นอกจากการใช้ตัวเลขในการกำหนดอัตราจังหวะแล้ว ยังมีการใช้สัญลักษณ์แทนได้อีกด้วย


Common Time
- มีค่าเท่ากับอัตราจังหวะ 4/4 สามารถใช้แทนกันได้
- มีชื่อเรียกอีกว่า Imperfect Time
Alla Breve
- โน้ตในแต่ละห้องจะเขียนเหมือน อัตราจังหวะ 4/4 แต่จะคิดชีพจรจังหวะ เป็นแบบ Duple Time หรือ อัตราจังหวะแบบ 2/2 มักพบบ่อยในเพลงมาร์ช (March)
- มีชื่อเรียกอื่นอีก ได้แก่ Colloquially, Cut Time และ Cut Common Time







*การใช้และเปลี่ยน Time Signature ในเพลง*
     Time Signature นั้นจะถูกกำหนดไว้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นเพลง และจะใช้อัตราจังหวะนั้นไปจนจบเพลง นอกจากว่า จะมีการเปลี่ยน Time Signature
     โดยการเปลี่ยนนั้น จะทำได้โดยการเขียน Time Signature ใหม่ลงในห้องที่เราต้องการ โดยเขียนไว้ที่ต้นห้องเท่านั้น(ก่อนตัวโน้ตจังหวะแรก) ไม่สามารถเขียนแทรกระหว่างโน้ตในห้องได้ และจะใช้อัตราจังหวะใหม่นี้ไปจนจบเพลง หากไม่มีการเปลี่ยนอีกครั้ง


     Time Signature ที่มักใช้ประจำ คือ Simple Time และ Compound Time เป็นส่วนใหญ่ ส่วน Complex Time จะไม่ค่อยมีโอกาสได้พบเจอมากนัก



BlackSwallowMusic

3 ความคิดเห็น:

  1. 5/4 เป่นจังหวะแบบไหนคับ simple compound complex

    ตอบลบ
  2. จังหวะ Slow Rock นี่ 6/4 หรือ 12/4 ครับ หรืออันไหนครับ

    ตอบลบ